องค์ประกอบของวรรณกรรมเยาวชน ประเภทบันเทิงคดีที่ได้รับรางวัลชนะเลิศรางวัลหนังสือ ดีเด่นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รางวัลแว่นแก้ว และรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ระหว่างปีพุทธศักราช 2546-2555

ผู้แต่ง

  • กุณฑิกา ชาพิมล
  • มาโนช ดินลานสกูล
  • นิดา มีสุข

คำสำคัญ:

วรรณกรรมเยาวชน, องค์ประกอบของวรรณกรรม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการวิเคราะห์องค์ประกอบของวรรณกรรมเยาวชน
ประเภทบันเทิงคดีที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ รางวัลหนังสือดีเด่นของสำนักงานคณะ
กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รางวัลแว่นแก้ว และรางวัลนายอินทร์อะวอร์ด ระหว่างปี
พุทธศักราช 2546 - 2555 โดยวิเคราะห์ การสร้างโครงเรื่อง การสร้างตัวละคร การสร้าง
บทสนทนา การนำเสนอแก่นเรื่อง การสร้างฉาก และการสร้างมุมมองการเล่าเรื่อง
ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะของวรรณกรรมเยาวชนโดยส่วนใหญ่มักมีโครงเรื่องที่ไม่
ซับซ้อน นิยมตัวละครแบบสมจริง สร้างบทสนทนาเพื่อการดำเนินเรื่อง มักนำเสนอ
แก่นเรื่องโดยการกระทำของตัวละคร เน้นการสร้างฉากแบบสมจริง และนิยมการสร้าง
มุมมองการเล่าเรื่องโดยบุรุษที่หนึ่ง ทั้งนี้ผลการวิเคราะห์ลักษณะกลวิธีการแต่ง
วรรณกรรมเยาวชนทั้งสามรางวัลนี้มีลักษณะกลวิธีการแต่งที่ใกล้เคียงกัน

The objective of the research is to analyze components of 15 youth literary
fictions winning award from the Basic Education Commission, Ministry of
Education, Wankaeo Award and Naiin Award between 2003-2012. The method
employed is analyzing the books’ components. From the study, it was found
that there are 6 important components as plotting, character development,
dialogue development, theme presentation, scene setting and narrative point of
view setting. And winners of these three awards have made use of similar
techniques. Moreover, it was found that the majority of the youth fictions have
made used of uncomplex plot and realistic characters and used dialogues to
develop the story. They have presented the theme via the characters’ acts,
set realistic scenes and made use of first person narrative.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2015-10-01