รูปแบบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดสงขลา

Main Article Content

พระมหาศุภวัฒน์ สุขดำ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดสงขลา 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดสงขลา 3) เพื่อตรวจสอบและยืนยันรูปแบบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดสงขลา การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมทั้งเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย เป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 54 คน ระยะที่ 2 ใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 112 โรงเรียน และระยะที่ 3 ใช้วิธีการสัมมนากลุ่มอิงผู้เชี่ยวชาญ (Connoisseurship) จำนวน 12 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ คือ ค่าความถี่ (Frequencies) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standrd Deviation) และค่าที (t-test)


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดสงขลา พบว่า โครงการโรงเรียนวิถีพุทธได้กำหนดไว้ในแผนกลยุทธ์ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนสนองนโยบาย โดยได้รับการสนับสนุนจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย แต่ยังประสบปัญหาในด้านการนิเทศ ติดตาม ประเมินผลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ขาดความสนใจและให้ความสำคัญของโครงการจากผู้ที่เกี่ยวข้อง นโยบายขาดความต่อเนื่อง ขาดงบประมาณ และอัตลักษณ์ 29 ประการ บางตัวชี้วัดโรงเรียนไม่สามารถปฏิบัติได้

  2. ผลการสร้างรูปแบบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดสงขลา พบว่า ผลการวิจัยเปรียบเทียบข้อมูลเกี่ยวกับระดับการปฏิบัติของการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ ที่มีผลคะแนน การประเมินอัตลักษณ์ 29 ประการ สู่การเป็นโรงเรียนวิถีพุทธ ระดับคะแนนมากที่สุด ระดับคะแนนน้อยที่สุด และโดยรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านอำนวยการ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านการจัดองค์กร และด้านงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด เหมือนกันทุกระดับคะแนน และการหาความแตกต่างกันของระดับคะแนนมากที่สุดและระดับคะแนนน้อยที่สุด โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดองค์กร และด้านการจัดบุคลากรปฏิบัติงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ผลการตรวจสอบและยืนยันรูปแบบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดสงขลา พบว่า ผู้เชี่ยวชาญมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดสงขลา โดยภาพรวมทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านความเหมาะสม กระบวนการพัฒนาการบริหารโรงเรียนวิถีพุทธในรูปแบบมีความชัดเจน เหมาะสม มีความสอดคล้อง ระบุองค์ประกอบของรูปแบบได้ชัดเจน และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ จังหวัดสงขลา ส่วนด้านความเป็นไปได้ รูปแบบนี้เป็นที่ยอมรับได้มีความเป็นไปได้ที่โรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมโครงการโรงเรียนวิถีพุทธสามารถนำรูปแบบนี้ไปใช้ในสถานการณ์จริงได้

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Beane, J. (1991). The Middle School : The Natural Home of integrated Curriculum . Educational Leadership, 49(2), 9-13.

Travess, D.P. & Revore, R.W. (1990). Foundationa of Educations : Becorning a Teacher. 2nd ed. Englewood Cliffs. N.I : Prentice-Hall.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). แนวทางการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ. กรุงเทพมหนคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นที่ฐานพุทธศักราช 2551. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กิตติคม คาวีรัตน์. (2553). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ สำหรับนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏ. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน. มหาวิทยาลัยศิลปากร.

กิตติชัย สุธาสิโนบล. (2555). การสร้างรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการตามแนวพุทธ เพื่อสะท้อนแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในบริบทแห่งสังคมไทยยุคปัจจุบัน. ใน รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

คณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ. (2551). กรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ ฉบับที่ 9 ตามมติ คณะรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา.

จินดามาศ โกศลชื่นวิจิตร. (2551). การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อปลูกฝังพฤติกรรมการดูแลอย่างเอื้ออาทรของนักศึกษาพยาบาล. ใน ดุษฎีนิพนธ์ ศึกษาศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยและพัฒนาหลักสูตร. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ดวงธิดา ฟูตระกูล. (2554). กระบวนการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธที่ส่งผลต่อคุณลักษณะของนักเรียนโรงเรียนวิถีพุทธในอำเภอปากพลี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. ใน วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการบริหารการศึกษาบัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

บุญเชิด ชานิศาสตร์. (2556). การพัฒนารูปแบบการบริหารวิชาการในการจัดการศึกษาปฐมวัยของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี. ใน ดุษฎีนิพนธ์ศึกษา สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยสยาม.

วัชรศักดิ์ สงค์ปาน. (2558). การพัฒนารูปแบบการบริหารโรงเรียนเพื่อบรรลุผลการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนมัธยมศึกษาภาคใต้ฝั่งอันดามัน. ใน วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 1. (2560). รายการผลการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ ประจำปี 2559. สงขลา: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2. (2560). รายการผลการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ ประจำปี 2559. สงขลา: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. (2560). รายการผลการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ ประจำปี 2559. สงขลา: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสงขลา เขต 16. (2560). รายการผลการดำเนินงานโรงเรียนวิถีพุทธ ประจำปี 2559. สงขลา: สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดสงขลา.

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา, กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). โรงเรียนวิถีพุทธจังหวัดสงขลา. เรียกใช้เมื่อ 30 ธันวาคม 2560 จาก http://www.vitheebuddha.com

โสภณ ชัยวัฒนกุลวานิช. (2556). การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาทางเลือกเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ : กรณีศึกษาเด็กที่มีความบกพร่องทางการได้ยิน. ใน ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.