Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal.
  • If submitting to a peer-reviewed section of the journal, the instructions in Ensuring a Blind Review have been followed.

Author Guidelines

วารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จัดทำขึ้นเพื่อส่งเสริมให้คณาจารย์ นักวิชาการ และนักศึกษาได้เผยแพร่ผลงานทางวิชาการแก่สาธารณชน อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มพูนองค์ความรู้ และแนวปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ ทางกองบรรณาธิการวารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี จึงได้กำหนดระเบียบการตีพิมพ์บทความดังกล่าว ดังต่อไปนี้

ข้อที่ 1 บทความที่มีความประสงค์จะลงตีพิมพ์ในวารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ต้องเป็นบทความใหม่ ไม่คัดลอกจากบทความอื่นๆ และเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน

ข้อที่ 2 ประเภทบทความวิชาการและบทความวิจัย ในส่วนบทความวิจัยนั้น ผู้ที่มีความประสงค์จะลงตีพิมพ์ในวารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี บทความนั้นต้องได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา

ข้อที่ 3 บทความดังกล่าวต้องชี้แจงให้กับกองบรรณาธิการวารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี เพื่อพิจารณา สรรหาผู้ทรงคุณวุฒิในการประเมินบทความ

ข้อที่ 4 ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความ ต้องมีสาขาชำนาญการที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อบทความที่จะลงตีพิมพ์ในวารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

ข้อที่ 5 การประเมินบทความวิชาการต้องประกอบไปด้วยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน และต้องมีคุณวุฒิในระดับปริญญาเอก หรือเทียบเท่า หรือเป็นผู้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการระดับผู้ช่วยศาสตราจารย์ขึ้นไปในสาขาชำนาญการนั้น หรือสาขาวิชาที่สัมพันธ์กัน หรือเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ในด้านวิชาการการศึกษาหรือการทำวิจัย ซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคมาการศึกษา

ข้อที่ 6 ทัศนะและข้อคิดเห็นใดๆ ที่ปรากฏในวารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ถือเป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่าน ทางกองบรรณาธิการเปิดเสรีด้านความคิด และไม่ถือว่าเป็นความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ

การเตรียมต้นฉบับสำหรับการเขียนบทความวิชาการ หรือบทความวิจัย ในวารสาร อัล-นูร บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

1. วารสาร อัล-นูร เป็นวารสารวิชาการบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี ได้จัดพิมพ์ ปีละ 2 ฉบับ

2. บทความที่จะลงตีพิมพ์ในวารสาร อัล-นูร จะต้องจัดส่งในรูปแบบไฟล์ และสำเนา ตามที่อยู่ดังนี้

       กองบรรณาธิการวารสาร อัล-นูร

       บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

       135/8 ม. 3 ต. เขาตูม อ. เมือง จ. ปัตตานี

       94160 / ตู้ปณ. 142 อ.เมือง จ.ยะลา 95000

       โทร: 073-418610-4  ต่อ 124 แฟกซ์: 073-418615-16

3. บทความวิชาการสามารถเขียนได้ในภาษา มลายู (รูมี/ยาวี), อาหรับ, อังกฤษ, หรือ ภาษาไทย และ บทความต้องไม่เกิน 12 หน้า

4. แต่ละบทความต้องมี บทคัดย่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ บทคัดย่อต้องมีจำนวนคำ ประมาณ 200-250 คำ

5. บทความภาษามลายู ต้องยึดหลัดตามพจนานุกรมภาษามลายู ที่ได้รับรองและยอมรับจากสถาบันศูนย์ภาษาประเทศมาเลเซีย

6. บทความดังกล่าวต้องเป็นบทความใหม่ ไม่คัดลอกจากบทความอื่นๆ และเป็นบทความที่ไม่เคยตีพิมพ์ในวารสารอื่นมาก่อน

7. การเขียนบทความต้องคำนึงถึงรูปแบบดังนี้

                 7.1 บทความภาษาไทย          พิมพ์ด้วยอักษร  TH Saraban                 ขนาด 16

                 7.2 บทความภาษาอาหรับ       พิมพ์ด้วยอักษร  Arabic Traditional     ขนาด 16

                 7.3 บทความภาษามลายูยาวี        พิมพ์ด้วยอักษร   Adnan Jawi Traditional          ขนาด  16

                 7.4 บทความภาษามลายูรูมี    พิมพ์ด้วยอักษร  TH Niramit AS           ขนาด 15

                 7.5 บทความภาษาอังกฤษ     พิมพ์ด้วยอักษร  TH Niramit AS           ขนาด 15

8. ใช้ฟรอนท์ Arial Narrow Transliterasi สำหรับชื่อและศัพท์ที่เป็นภาษาอาหรับ ที่เขียนด้วยอัขระ รูมี ตามที่บัณฑิตวิทยาลัยได้ใช้ หากบทความนั้นได้เขียนด้วยภาษาไทย มลายูรูมี และ ภาษาอังกฤษ

9. อัตราค่าธรรมเนียมในการขอรับการตีพิมพ์บทความ ดังนี้

                9.1 บุคคลภายในมหาวิทยาลัย     บทความละ     3,000 บาท

                9.2 บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัย   บทความละ     3,500 บาท

รายละเอียดอื่นๆ

1. ตาราง รูปภาพ และแผนภูมิ ควรคัดเลือกเฉพาะที่สำคัญ และต้องแยกออกจากเนื้อเรื่องหน้าละรายการ

2. ในส่วนของเอกสารอ้างอิงให้ใช้คำว่า บรรณานุกรม

3. สำหรับชื่อหนังสือให้ใช้เป็นตัวหนา (B)

4. ในส่วนของอายะฮฺอัลกุรอ่านให้ใส่วงเล็บปิด-เปิด ﴾.....﴿ และสำหรับอายะฮฺอัลกุรอ่านที่มากกว่าหนึ่งบรรทัดให้จัดอยู่ในแนวเดียวกัน

5. ในส่วนของฮาดีษให้ใส่เครื่องหมายคำพูด "......" และสำหรับอัลฮาดีษที่มากกว่าหนึ่งบรรทัดให้จัดอยู่ในแนวเดียวกัน

6. ในส่วนของคำพูดบรรดาอุลามาอฺหรือนักวิชาการไม่ต้องใส่เครื่องหมายใดๆ

7. ให้จัดลำดับบรรณานุกรมเป็นไปตามลำดับภาษาของบทความนั้นๆ

8. ให้ใช้อ้างอิงอายะฮฺอัลกุรอ่านดังนี้ อัลบะเกาะเราะห์, 2:200

9. ใช้คำว่าบันทึกโดย แทนคำว่ารายงานโดย ตัวอย่าง (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ เลขที่:213)

10. และการเรียงลำดับในการอ้างอิงหนังสือดังนี้ ชื่อผู้แต่ง. ปีที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. ชื่อผู้แปล. สถานที่พิมพ์. สำนักพิมพ์.

11. ให้ใส่วุฒิการศึกษาเจ้าของบทความ ที่ปรึกษา ที่ปรึกษาร่วมสำหรับในส่วนของบทความวิจัย ใน Foot Note ทั้งที่เป็นภาษาไทย และภาษาอังกฤษ ตัวอย่างเช่น

            อับดุลอาซิส แวนาแว*

            Abdulaziz waenawae**

            มุฮำหมัดซากี เจ๊ะหะ***

            Muhaammadzakee Cheha****

*นักศึกษาระดับปริญญาโท สาขาวิชาชะรีอะฮฺ (กฎหมายอิสลาม) คณะอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

**Graduate Student, Department of Shariah, Faculty of Islamic Studies, Yala Islamic University.

***ดร. (หลักนิติศาสตร์) ผู้ช่วยศาสตราจารย์, อาจารย์ประจำสาขาวิชาชะรีอะฮฺ คณะอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

**** Asst. Prof. Ph.D. (in Law) อาจารย์ประจำสาขาวิชาชะรีอะฮฺ คณะอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยฟาฏอนี

บทความทั่วไปและบทความวิจัย

1.ชื่อเรื่อง

2.ผู้แต่ง

3.บทคัดย่อ

4.คำสำคัญ

5.บทนำ

6.เนื้อหา (วิธีดำเนินการวิจัยสำหรับบทความวิจัย)

7.บทสรุป (สรุปผลและอภิปรายผลการวิจัยสำหรับบทความวิจัย)

8.บรรณานุกรม

 

บทวิพาทษ์หนังสือ/Book Review

1.หัวข้อที่วิพาทษ์

2.ชื่อผู้วิพาทษ์ หรือผู้ร่วมวิพาทษ์ (ถ้ามี)

3.เนื้อหาการวิพาทษ์หนังสือ

4.ข้อมูลทางบรรณานุกรม

 

การอ้างอิงในบทความ มีดังนี้

            1.ตัวอย่างการอ้างอัลกุรอ่านในบทความ:

 ﮊอายะฮฺ อัลกุรอ่าน…………………………….…………………………… ﮋ           (อัล-บะเกาะเราะห์, 73: 20).

            2.ตัวอย่างการอ้างหะดีษในบทความ:

 

“บทหะดีษ……………………………………………………………………..”  (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ , หะดีษเลขที่: 2585)

 

ตัวอย่างการเขียนบรรณานุกรม:

Ibn Qudamah, cAbdullah bin Ahmad. 1994. al-Mughni.  Beirut: Dar al-Fikr.

Ahmad Fathy. 2001. Ulama Besar Dari Patani. Bangi: Penerbit Universiti Kebangsaan Malaysia.

Mohd. Lazim Lawee. 2004. Penyelewengan Jemaah Al-Arqam dan Usaha Pemurniannya. Bangi: Penerbit Universiti Kebangsaan Malaysia.                 

นิเลาะ แวอุเซ็ง และคณะ. 2550. การจัดการศึกษาโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. วิทยาลัยอิสลามศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี

Privacy Statement

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.