ผลของการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและแรงสนับสนุนทางสังคมต่อการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ

ผู้แต่ง

  • เปรมฤดี ศรีสังข์ วิทยาจารย์ชำนาญการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • นุชวรา ดอนเกิด เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขชำนาญงาน โรงพยาบาลบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาชาวบ้าน, แรงสนับสนุนทางสังคม, การดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยโรคเบาหวาน

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการทำวิจัยแบบกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและแรงสนับสนุนทางสังคมในการดูแลสุขภาพช่องปากผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มารับบริการที่โรงพยาบาลบุ่งคล้า จังหวัดบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้ป่วยโรคเบาหวาน  74 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 37 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 37 คน โดยกลุ่มทดลองได้ประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและแรงสนับสนุนทางสังคม  ในการส่งเสริมทันตสุขภาพระยะเวลา 6 สัปดาห์ ประกอบด้วยกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ การย้อมแผ่นคราบจุลินทรีย์ด้วยเมล็ดผักปลังสุก  การฝึกปฏิบัติแปรงฟันถูกวิธี  และการใช้น้ำยาบ้วนปากสมุนไพร การบรรยายประกอบสื่อและVDO การเสนอตัวแบบ  การสนทนากลุ่ม  การเยี่ยมบ้าน และการสนับสนุนทางสังคมจากผู้วิจัย  เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข และอาสาสมัครประจำหมู่บ้าน  เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์  วิเคราะห์ข้อมูลโดย  ข้อมูลเชิงพรรณนาใช้สถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การแจกแจงความถี่ เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยภายในกลุ่มใช้สถิติ Paired t-test เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มใช้สถิติ Independent t-test และ Mann-Whitney U test กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

          ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการทดลอง กลุ่มทดลองมีค่ามัธยฐานด้านความรู้เกี่ยวกับสุขภาพช่องปากดีกว่าก่อนทดลอง และกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value <0.001) คะแนนเฉลี่ยของทัศนคติ การดูแลสุขภาพช่องปากดีกว่าก่อนทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value= 0.045, 0.001ตามลำดับ)  คะแนนเฉลี่ยของการปฏิบัติตัวในการดูแลสุขภาพช่องปาก ดีกว่าก่อนทดทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (p-value= 0.003, <0.001ตามลำดับ)  ส่วนคะแนนเฉลี่ยปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์ในกลุ่มทดลอง ลดลงกว่าก่อนทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value <0.001).

สรุปการใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านและแรงสนับสนุนทางสังคมในการส่งเสริมทันตสุขภาพ
กลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน มีผลทำให้กลุ่มผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพช่องปากเพิ่มมากขึ้น
ทำให้สามารถปฏิบัติได้อย่างถูกวิธี มีปริมาณคราบจุลินทรีย์ที่ลดลง ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดโรคในช่องปากได้และสามารถนำไปเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพช่องปากของผู้ป่วยโรคเบาหวานต่อไป

References

1. สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย. รายงานสถานการณ์โรค NCDs ฉบับที่ 2. [ออนไลน์] 2559 [อ้างเมื่อ 8 กรกฎาคม 2560] จากhttps://iregist.igenco.co.th/web/dmthai_old/statistic/1846.
2. วัชราภรณ์ เสนนอก, สุภาภรณ์ ฉัตรชัยวิวัฒนา, และเสาวนันท์ บำเรอราช. โรคเบาหวานกับสุขภาพ ช่องปาก. ว.ทันต.ขอนแก่น 2553; 13:132-146.
3. นางสาวกนกวรรณ ชะเนติยัง. นวัตกรรมสีย้อมฟันจากธรรมชาติ. [ออนไลน์] 2560 [อ้างเมื่อ 8 กรกฎาคม 2560] จากhttps://www.sangkhahospital.com/sangkha/administrator/modules/mod_download/img/4_268_12_08_2017_11_12_33_KanokwanChanetiyoung.pdf.
4. มณีวรรณ หอมชื่น. นวัตกรรมเม็ดผักปลัง.. [ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 16 ,มีนาคม 2560] จาก :https://www.komchadluek.net/news/edu-health/181021
5. สุชาดา ฑีฆายุพันธุ์ และคณะ. การใช้น้ำสมุนไพรบ้วนปากเพื่อป้องกันโรคฟันผุและโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนประถมศึกษา. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก 2555;10(2) พฤษภาคม-สิงหาคม(ฉบับเสริม) :56.
6. สุขภาพ การแพทย์แผนไทย สมุนไพร ผู้หญิงและความงาม.สมุนไพรสรรพคุณและประโยชน์ [ออนไลน์] 2557 [อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน. 2557] จาก https://www.frynn.com.
7. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติสำหรับงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์สุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น:คลังนานาวิทยา;2547.
8. อนิศรา พลยูง. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีพฤติกรรมตามแผนร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคปริทันต์ในผู้ป่วยเบาหวานที่มารับบริการโรงพยาบาลน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาสุขศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพ, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2552.
9. จุฬาภรณ์ โสตะ. กลยุทธ์การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ. ขอนแก่น: ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา. มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2546.
10. ประกาย จิโรจน์กุล. แนวคิด ทฤษฎีการสร้างสริมสุขภาพ และการนำมาใช้. พิมพ์ครั้งที่ 1. นนทบุรี : โครงการสวัสดิการ สถาบันพระบรมราชชนก;2530.
11. มาลัย คำมณี. ประสิทธผลของการใช้โปรแกรมการรับรู้ความสามารถตนเองร่วมกับแรงสนับสนุนทางสังคมต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของผู้สูงอายุ ตำบลหนองหมื่นถ่าน อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต,สาขาวิชาการส่งเสริมสุขภาพและพฤติกรรมศาสตร์, คณะสาธารณสุขศาสตร์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2556.
12. วันเฉลิม รัตพรและวิศรุต ทองวรรณ. ประสิทธิผลของโปรแกรมการส่งเสริมทันตสุขภาพที่ประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง แรงสนับสนุนทางสังคม และวัฒนธรรมพื้นบ้านหมอลำต่อ พฤติกรรมการดูแลสุขภาพช่องปากในผู้สูงอายุบ้านหนองโสน ตำบลหนองโสน อำเภอนางรอง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น;2560.
13. แพรภัทร ยอดแก้ว. ทัศนคติหรือเจตคติ.[ออนไลน์] 2552 [อ้างเมื่อ 16 ,มีนาคม 2560] จาก https://www.gotoknow.org/posts/280647.
14. ประภัสสร ลือโสภา. ผลของโปรแกรมประยุกต์การเฝ้าระวังตนเองทางทันตสุขภาพร่วมกับการดูแลโดยกลุ่มเพื่อนต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลทันตสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในตำบลสระบัว อำเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการระบบสุขภาพ. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2556.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)