ตัวแบบการจัดการวัฒนธรรมชุมชนบ้านหมากขามและบ้านหมากม่วงใน ตัวแบบการจัดการวัฒนธรรมชุมชนบ้านหมากขามและบ้านหมากม่วงใน

Main Article Content

คทาเทพ พงศ์ทอง
สุพรรณี ไชยอำพร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์สำคัญ 3 ประการคือ เพื่อนำเสนอตัวแบบการจัดการวัฒนธรรมชุมชนบ้านหมากขาม และบ้านหมากม่วง ในเขตตำบลไตรรัฐ อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี เพื่อศึกษาการจัดการวัฒนธรรมของชุมชน และเพื่อศึกษาทัศนะของประชาชนในชุมชนต่อกิจกรรมทางวัฒนธรรม การวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเน้นการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก จากผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ 30 คน และใช้การวิเคราะห์ ตีความ ควบคู่ปริบทและใช้สถิติเชิงพรรณนาประกอบเพื่อให้เกิดความชัดเจนเป็นรูปธรรม ผลการศึกษาพบว่า จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ตัวแบบการจัดการวัฒนธรรมชุมชนในยุคประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนที่เหมาะสมจะใช้การบูรณาการวงจร Deming (PDCA) และขับเคลื่อนผ่านกลไก คชศร. (ครอบครัว ชุมชน ศาสนา โรงเรียน) จากวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ชุมชนมีแนวทางการจัดการวัฒนธรรมชุมชนสอดคล้องกับวงจร Deming อันสามารถปรับปรุงการดำเนินกิจกรรมและปรับเปลี่ยนตามปริบทได้อย่างเหมาะสม และจากวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ประชาชนในชุมชนมีทัศนะชัดเจนและต้องการรักษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมท้องถิ่นอันสะท้อนถึงชาติพันธุ์ ทั้งไทย มอญและจีนของตนเองเอาไว้ และมีความเป็นไปได้สูงในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ชุมชนเห็นพ้องต้องกันว่ามีความสำคัญในการสงวนรักษาวิถีและอัตลักษณ์ของตน


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaiamporn, S. (2009). Qualitative research for development. Bangkok: Prayoonsanthai. [in Thai]

Chareonmeaung, T. (2006). Citizen and rural development. Bangkok: Kobfai. [in Thai]

Department of Research and Development, King Prajadhipok’s Institute (2012). Social innovator of Klongpon: Social capital for sustainable development. Bangkok: Office of Research and Development, King Prajadhipok's Institute. [in Thai]

Department of Strategic and Evaluation, (2013). ASEAN Community. Bangkok: National Buddhism Office. [in Thai]

Euajongprasit, S. (2006). Strategic tourism management. Chiang Rai: Faculty of Management Science, Chiang Rai Rajabhat University. [in Thai]

Kittichayaton, P. (2012). Model and community drive of learning center in the drug protection at Torraneekham community, Khokfad, Nongjok, Bangkok. (Doctor’s thesis) Bangkok: National Institute of Development Administration. [in Thai]

Lertchanrit, L. (2011). Cultural resources management. Bangkok: Princess Maha Chakri Sirindhorn Anthropology Centre (Public Organisation). [in Thai]

Nathasupha, C. (2012). Modernization and community perspective (2nd ed.). Bangkok: Sangsan. [in Thai]

Samakkakarn, S. (1997). Thai society study model and methodology. Bangkok: Samcharoen Panich. [in Thai]

Sethatata, B. (2011). Social capital in the management of eco-tourism at Klong Suan Old Market, Bang Bo District, Samut Prakan Province. (Master’s thesis) Bangkok: National Institute of Development Administration. [in Thai]

Sutthidhama, S. (2000). Thai’s rural, Phathumthani. Bangkok: Odian Store. [in Thai]