พระจันทร์ : การสื่อแนวคิดเรื่องปัญญาในอรรถกถาชาดก

ผู้แต่ง

  • สุภัค มหาวรากร มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

บทคัดย่อ

THE MOON : THE CONVEYANCE OF WISDOM IN THE JATAKA-ATTHAKATHA

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มุ่งศึกษาพระจันทร์ในฐานะกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่สื่อแนวคิดเรื่องปัญญาในอรรถกถาชาดก ผลการศึกษาพบว่า พระจันทร์เป็นความเปรียบในอรรถกถาชาดกจำนวน 58 เรื่อง ปรากฏใน 4 ลักษณะ ได้แก่ พระจันทร์ปรากฏร่วมกับราหู พระจันทร์ ปรากฏร่วมกับพระอาทิตย์ พระจันทร์ปรากฏร่วมกับท้องฟ้า และพระจันทร์ปรากฏโดยลำพัง อรรถกถาชาดกเปรียบพระจันทร์กับปัญญาของพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า แสดงให้เห็นว่า พระโพธิสัตว์ต้องผ่านการผจญกับกิเลสและอวิชชาต่างๆจนกระทั่งบำเพ็ญปัญญาบารมีเต็มบริบูรณ์ ซึ่งเป็นการแสดงปัญญาที่ช่วยเหลือเกื้อกูลสัตว์โลกในอรรถกถาชาดก การใช้พระจันทร์เป็นความเปรียบจึงเป็นกลวิธีทางวรรณศิลป์ที่สื่อแนวคิดสำคัญในอรรถกถาชาดก เน้นให้เห็นพระจริยวัตรอันงดงามของพระโพธิสัตว์ ซึ่งบำเพ็ญปัญญาบารมีเพื่อการตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

คำสำคัญ : ปัญญา พระจันทร์ อรรถกถาชาดก

Abstract

This paper aims to study the metaphor of the moon as a literary technique used to convey the concept of wisdom in the Jataka-atthakatha. The metaphor of the moon is found in 58 stories and can be classified into 4 types: the moon, the moon co-occurred with the eclipse, the moon co-occurred with the sun, and the moon co-occurred with the sky. The moon is used to represent the wisdom of the bodhisatta and the Buddha. It demonstrates that the bodhisatta has to overcome all the defilements and ignorance in order to fulfill the perfection of wisdom with the aspiration to attain Buddhahood.

Keywords : the Jataka-atthakatha, The moon, wisdom

Author Biography

สุภัค มหาวรากร, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์

Downloads