การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน ระดับอนุบาลศึกษา ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร

Authors

  • สุพรรณิกา สีสอาด

Keywords:

สภาพการบริหารงานวิชาการ, โรงเรียนเอกชนระดับอนุบาลศึกษา เขตบางกอกน้อย, State of Academic Administration, Private Pre-Childhood School, Bangkoknoi District

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน ระดับอนุบาลศึกษา ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาข้อมูลส่วนบุคคลที่มีผลต่อสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน ระดับอนุบาลศึกษา ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูและผู้บริหาร จำนวน 97 คน โดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากการใช้ตารางเคร็ซซี่และมอร์แกน (Krejcie, R.V. and Morgan, D.W) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และแบบแสดงความคิดเห็น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ การทดสอบค่าความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยใช้วิธีการของเชฟเฟ่

ผลการวิจัยพบว่า พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่มีตำแหน่งหน้าที่เป็นครู จำนวน 84 คน (ร้อยละ 86.60) และเป็นผู้บริหาร จำนวน 13 คน (ร้อยละ 13.40) มีวุฒิการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มากที่สุด จำนวน 45 คน (ร้อยละ 46.39) วุฒิการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรี น้อยที่สุดจำนวน 13 คน (ร้อยละ 13.40) ปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดกลาง จำนวน 56 คน (ร้อยละ 57.73) และปฏิบัติงานในสถานศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 41 คน (ร้อยละ 42.27) สภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน ระดับอนุบาลศึกษา ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมทั้ง 12 ด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.69 อยู่ในระดับมาก โดยมีด้านการแนะแนวการศึกษา มีค่าเฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 4.12 อยู่ในระดับมาก รองลงมา ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.98 อยู่ในระดับมาก และด้านการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดเท่ากับ 3.35 อยู่ในระดับปานกลางตามลำดับ จากผลการทดสอบสมมติฐานความคิดเห็นของครูและผู้บริหารที่มีตำแหน่งหน้าที่ วุฒิการศึกษา และปฏิบัติงานในโรงเรียนที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นต่อสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนโดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 และจากข้อเสนอแนะเพื่อนำไปเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาการบริหารงานวิชาการ ระดับอนุบาลศึกษา พบว่า โรงเรียนควรจัดให้มีการวิเคราะห์หลักสูตรให้เหมาะสมกับสภาพความต้องการของชุมชนและท้องถิ่น (f = 33) มากที่สุด และโรงเรียนควรส่งเสริมสนับสนุน ให้คำปรึกษา ช่วยเหลือ และแนะแนวการศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น (f = 9) น้อยที่สุด

คำสำคัญ: สภาพการบริหารงานวิชาการ โรงเรียนเอกชนระดับอนุบาลศึกษา เขตบางกอกน้อย


ABSTRACT

The objectives of this research were to study the state of academic administration of private pre-childhood school in Bangkoknoi District, Bangkok Metropolitan Administration; and to study the personal data effecting on the academic administration of private pre-childhood school in Bangkoknoi District, Bangkok Metropolitan Administration. The research samples were 97 teachers and administrators which determined by the Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. tables. The tools used for data collecting were the 5-point rating scale questionnaire and opinion expression questionnaire. The statistics used were frequency, percentage, mean, standard deviation, T- test, F- test, one -way variance test, pairs of mean value test by using the Scheffe's method.

The research finding indicated that most of respondents are 84 teachers (86.60 %) and 13 administrators (13.4 %), the most of their educational level was below bachelor degree (46.39%) while the least were higher than bachelor degree (13.40 %), 56 respondents (57.73 %) work in medium-sized school while 41 persons (42.27 %) work in small-sized school. For the state of academic administration of private pre-childhood school in Bangkoknoi District, Bangkok Metropolitan Administration, overall of 12 aspects were in good level (=3.69). The most average aspect, educational guidance, was in good level (=4.12) while learning process development and learning source development were in good and moderate level respectively (=3.98, 3.35). From the results of hypothesis test, the opinion of teachers and administrators who had different positions, educational level and size of school were not different with the significance at 0.05. For further development of the academic administration of private pre-childhood school, most of the respondents (f=33) were suggested that the schools should conduct the curriculum analysis which suitable for the condition and the need of the community, and the least (f=9) suggested that the schools should support and provide counseling and educational guidance for continuing in higher education level.

Keywords: State of Academic Administration, Private Pre-Childhood School, Bangkoknoi District

Downloads

How to Cite

สีสอาด ส. (2014). การศึกษาสภาพการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนเอกชน ระดับอนุบาลศึกษา ในเขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. Modern Management Journal, 11(2), 102–111. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/16942