ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการรับรู้ความสามารถ ของตนเอง การกำกับตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเองและการลดน้ำหนักของ บุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา,Effectiveness of a Health Behavior Change Program on Self efficacy,

Main Article Content

รุสนี วาอายีตา
กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ
บุญสิทธิ์ ไชยชนะ
ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ

Abstract

ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการรับรู้ความสามารถ

ของตนเอง การกำกับตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเองและการลดน้ำหนักของ

บุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา

รุสนี  วาอายีตา*,
กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ**

บุญสิทธิ์  ไชยชนะ***,
ไพบูลย์  ชาวสวนศรีเจริญ****

 บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังทดลองสัปดาห์ที่ 12 และวัดซ้ำหลังสิ้นสุดการทดลองสัปดาห์ที่ 16 และสัปดาห์ที่ 24 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง การกำกับตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง และการลดน้ำหนักของบุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา  กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากรโรงพยาบาลรามันที่มีภาวะน้ำหนักเกิน จำนวน 31 คน ได้รับโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ซึ่งผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถของตนเอง การกำกับตนเองและการดูแลตนเอง เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถามวัดการรับรู้ความสามารถของตนเอง แบบสอบถามวัดพฤติกรรมการกำกับตนเอง และแบบสอบถามวัดพฤติกรรมการดูแลตนเอง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติทดสอบค่าเฉลี่ยของประชากร 2 กลุ่มสัมพันธ์กัน (Paired-t test)

ผลการวิจัยพบว่า หลังเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ บุคลากรโรงพยาบาลรามันที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมการกำกับตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเองสูงกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีค่าเฉลี่ยน้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกายและค่ารอบเอวหลังสิ้นสุดโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสัปดาห์ที่ 24  ต่ำกว่าก่อนเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและหลังเข้าร่วมโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพสัปดาห์ที่ 12 และ 16 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  สรุปได้ว่า โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่จัดขึ้น มีประสิทธิผลทำให้บุคลากรโรงพยาบาลรามันที่มีภาวะน้ำหนักเกิน มีพฤติกรรมสุขภาพดีขึ้น ทั้งด้านการรับรู้ความสามารถของตนเอง พฤติกรรมการกำกับตนเอง และพฤติกรรมการดูแลตนเอง ส่งผลทำให้น้ำหนักตัว ค่าดัชนีมวลกายและค่ารอบเอวลดลง

คำสำคัญ : โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ การรับรู้ความสามารถของตนเอง การกำกับตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเอง ภาวะน้ำหนักเกิน

 *นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 
**
อาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา,  
***อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา,
****ผู้อำนวยการวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง


Effectiveness of a Health Behavior Change Program on Self efficacy,
Self regulation, Self care and Weight loss among overweight
Health Personal of Raman Hospital, Yala
Province

Rusnee Vaayeeta* ,
Kannika Ruangdej
Chaosuansreecharoen**

Boonsit Chaichana*** ,
Paiboon Chaosuansreecharoen****

Abstract

A quasi-experimental research using a one group pretest-posttest at 12th, 16th, and 24th  week was conducted to study the effects of a health behavior change program on self efficacy, self regulation, self care and weight loss of overweight health personal of Raman Hospital, Yala Province. The sample consisted of 31 health personnel of Raman Hospital. They received the health behavior change program that was developed from the model of self efficacy, self regulation and self care. The research instruments included a questionnaire to measure self efficacy, self regulation and self care. The data were analyzed using descriptive statistics and paired-t tests.

The results revealed that: after participating in the program, the overweight health personnel of Raman Hospital had the average scores of self efficacy, self regulation and self care which were significantly higher than those of the pre-test scores (p< 0.05). The average of body weight, body mass index and the waist circumference at the end of the program in the 24th week were significantly lower than before participating in the program at 12th and 16th week (p < 0.05). It is concluded that the health behavior change program effectively enhanced the health of the personnel of Raman Hospital. They improved their health behaviors in terms of self efficacy, self regulation and self care. The result of this program was that participants had a tendency to decrease their body weight, body mass index and waist circumference. This program can be used for health personnel and overweight personnel in other agencies with continuous evaluation of effectiveness of the program.

 Keywords : Health Behavior Change Program, Self efficacy, Self regulation, Self care, Overweight

 *Master of Science (Public Health) Sirindhorn College of Public Health, Yala, incorporation with Yala Rajabhat University. **Sirindhorn College of Public Health, Yala. ***Yala Rajabhat University. ****Sirindhorn College of Public Health, Trang.

   

Article Details

How to Cite
1.
วาอายีตา ร, ชาวสวนศรีเจริญ กเ, ไชยชนะ บ, ชาวสวนศรีเจริญ ไ. ประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพต่อการรับรู้ความสามารถ ของตนเอง การกำกับตนเอง พฤติกรรมการดูแลตนเองและการลดน้ำหนักของ บุคลากรที่มีภาวะน้ำหนักเกิน โรงพยาบาลรามัน จังหวัดยะลา,Effectiveness of a Health Behavior Change Program on Self efficacy,. NJPH (วารสาร พ.ส.) [Internet]. 2015 Feb. 6 [cited 2024 Apr. 27];24(2):90-104. Available from: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tnaph/article/view/30323
Section
บทความวิจัย
Author Biographies

รุสนี วาอายีตา

นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา สถาบันสมทบมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา   

กรรณิกา เรืองเดช ชาวสวนศรีเจริญ

อาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดยะลา   

บุญสิทธิ์ ไชยชนะ

อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา   

ไพบูลย์ ชาวสวนศรีเจริญ

ผู้อำนวยการวิทยาลัยสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดตรัง