การประเมินผลสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ ของศูนย์ประสานงานและจัดการเรียนรู้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี

Main Article Content

เกศแก้ว สอนดี
พเยาว์ พงษ์ศักดิ์ชาติ
ผุสดี ก่อเจดีย์
จีราภรณ์ ชื่นฉ่ำ
ภูวสิทธิ์ สิงห์ประไพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ  ประเมินสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอของทีมผู้เรียน ในโครงการเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ ของศูนย์ประสานงานและจัดการเรียนรู้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี โดยการจัดการเรียนเน้นการปฏิบัติโดยใช้บริบทเป็นฐาน และกระบวนการร่วมคิด ร่วมทำและร่วมเรียนรู้  ซึ่งเป็นลักษณะของการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่ ที่ให้ความสำคัญกับการเรียนเป็นทีม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีมและกับผู้รู้ในพื้นที่  คาดหวังการมีสมรรถนะทางด้านการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ 6 สมรรถนะหลัก ได้แก่ การควบคุมตนเอง การมีวิสัยทัศน์ การวางแผน การนำการเปลี่ยนแปลง การทำงานเป็นทีม และการใช้เครื่องมือการบริหารจัดการ กับ 4 สมรรถนะเงา คือ คุณค่า ความสัมพันธ์ การสื่อสาร และอำนาจ อันจะเกิดประโยชน์ต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของระบบการทำงานสุขภาพในระดับอำเภอ  ศึกษาทีมพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอและพี่เลี้ยง ในเขตบริการสุขภาพที่ 4 จำนวน 6 ทีมสุขภาพ ได้แก่ อำเภอมวกเหล็ก  อำเภอแก่งคอย อำเภอเมืองนครนายก อำเภอเมืองปทุมธานี อำเภอคลองหลวง  และมิตรไมตรีคลินิกเวชกรรม รวม 57 คน  คัดเลือกตัวอย่างโดยการคัดเลือกตามคุณสมบัติ ของคณะทำงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ  เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบประเมินตนเองด้านสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ และข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสนทนากลุ่ม  วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยการหา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  พบว่า  สมรรถนะบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอ  ก่อนการเข้าอบรม  ทีมเรียนมีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ 3.64  คะแนน (SD=.48) หลังการเข้าอบรม ทีมผู้เรียนมีคะแนนเฉลี่ยยู่ในระดับสูง เท่ากับ  4.21  คะแนน (SD=.34)   ข้อมูลเชิงคุณภาพพบว่า ความคาดหวังของทีมผู้เรียน คือการได้รับความรู้ ในการพัฒนาผู้ป่วย มีช่องทางช่วยเหลือในการจัดการทีมสุขภาพอำเภอ ให้ได้รับการพัฒนาศักยภาพ มีกระบวนการคืนข้อมูล มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่ต่อเนื่อง ได้รูปแบบที่เหมาะสมที่ผลกระทบถึงชุมชนที่แท้จริง และการมีพี่เลี้ยงการจัดทำวิจัย R2R     


            สรุปได้ว่าโครงการอบรมเสริมสมรรถนะการบริหารจัดการระบบสุขภาพอำเภอของศูนย์การเรียนรู้ วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี  สระบุรี ประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดี  ควรพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

1. Aragon AO. A case for surfacing theories of change for purposeful organizational capacity development, IDS Bulletin.2010.41(31):36-46.
2. Tyler RW. Evaluation acting program. Boston Allin and Bacon;1986.
3. Pongsupab Y. District Health System Management Learning: DHML. National Health Security Office, APPA Printing GroupCO., LTD.;2014.
4. Kemmis S, McTaggart R, Rhonda N, The Action Research Planner: Doing Critical Participatory Action Research. New York: Springer ; 2014.
5. Best, JW. Research in Education. 3rd. ed., Englewood Cliffs, New Jersey, Prentive-Hall, Inc.;1997.
6. Elo S, Kyngas H. The qualitative content analysis process. Journal of advance Nursing;2007, 62(1), 107-115.
7. World Health Organization. Everybody’s business; Strengthening health system to improve health outcome: Geniva;2007.
8. Kongchan A. Human Resource Management, Bangkok SE-ED; 2014. (In Thai).
9. Promsakanasakolnakorn P, District Health Management Learning: Roles and Perspectives of Academic Institutions (AI). Nursing Journal of the Ministry of Public Health; 2016, V.3(32-33). (In Thai).
10. Boonyapaisarncharoen T. Summary of Learning District Health System Management Learning (DHML) Project.Copy; 2015. (In Thai).
11. Archananuparp S. Speech in close meeting Core Team Committee in District Health System Management Learning (DHML) Project; 2016. [cited 2015 December 3]. Available from https://www.facebook.com/ asurakiat?fref=ts(In Thai).