ความวิตกกังวลและการจัดการความวิตกกังวลของผู้ปกครองที่มีบุตรป่วยเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม โรงพยาบาลศูนย์ตรัง

Main Article Content

โสภิต สุวรรณเวลา
นฤมล ศิลวิศาล
วรารัตน์ ทิพย์รัตน์
อนัญญา คูอาริยะกุล

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนา วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความวิตกกังวลของผู้ปกครอง การจัดการความวิตกกังวลของผู้ปกครอง และความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวลกับการจัดการความวิตกกังวลของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างคือผู้ปกครองเด็กที่เข้ารับรักษาด้วยอาการเจ็บป่วย ในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม 1 และ 2 โรงพยาบาลศูนย์ตรัง จำนวน 317 คน สุ่มอย่างมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามความวิตกกังวล แบบสอบถามการจัดการกับความวิตกกังวล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า


1) ความวิตกกังวลของผู้ปกครอง เมื่อบุตรมาเจ็บป่วยที่หอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( X=3.01, SD =1.26) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความวิตกกังวลด้านร่างกายมากที่สุด ( = 3.16, SD=1.16) อยู่ในระดับปานกลาง และน้อยที่สุดคือ ด้านพฤติกรรม ( =2.92, SD=1.34) อยู่ในระดับน้อย


2) การจัดการกับความวิตกกังวลของผู้ปกครอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( X=3.47, SD=1.08) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การจัดการกับความวิตกกังวลด้านพฤติกรรมมากที่สุด ( =3.60, SD=1.05) อยู่ในระดับมาก และน้อยที่สุดคือ การจัดการกับความวิตกกังวลด้านจิตใจ ( X=3.34, SD=1.14) อยู่ในระดับปานกลาง


3) ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางบวกกับการจัดการกับความวิตกกังวลของผู้ปกครองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .074, p<.01)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research articles)

References

1 Aksornsri, A., Thampanichawat, W., Wichiencharoen, K., & Sangperm, P. (2012). The Effects of concrete-objective information on parental anxiety and parental participation in care for children in pediatric intensive care unit. Nursing Science Journal of Thailand, 30(2), 80-89. (in Thai)

2 Channual, B. (2008). The development of clinical practice guideline to reduce anxiety in patients on mechanical ventril ator by using music therapy in medicine critical care. (Master’s thesis). Khon Kaen of University Adult Nursing, Khon Kaen (in Thai)

3 Chetchotsak, Y., Sitiwongsa, P., & Wongwi, S. (2013). Effects of information giving on anxiety, knowledge and practice among mothers of infants with retinopathy of prematurity. Srinagarind Medical Journal, 28(2), 155-162. (in Thai)

4 Department of Mental Health, Ministry of Public Health. (2006) (2017, August 10). Anxiety disorders. Retrieved from http://www.dmh.go.th/news/view.asp?id=999.

5 Disyabut, S. (2008). Mental health and psychiatric nursing Bangkok: Chulalongkorn PublishingUniversity. (in Thai)

6 Duranaitorn, S. (2010). The effect of individual counseling with the anxiety of a mother whose child illness In the intensive pediatric heart disease. (Master’s thesis). Srinakharinwirot University, Bangkok (in Thai)

7 Gulrach, V., Kunsongkeit, W., & Duangpaeng, S. (2017). Factors related to preoperative anxiety among patients with eye surgery. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 10(2), 1-12. (in Thai)

8 Kaiwikaikoson, A. Wanchai, A. Kaewsasr, A. Kuariyakul, A. (2018). Stress management of patients with diabetes in Thailand: a systematic review. Boromarajonani College of Nursing, Uttaradit Journal, 9(1), 1-16. (in Thai)

9 Lamchang, S., Ngamsuoy, A., Junpunyaskool , O., & Lamchang , P. (2017). Anxiety, Caregiver – Nurse Communication, and Febrile Seizure Preventing Practices Among Caregivers of Children with Acute Illness. Nursing Journal, 44(1), 74-85. (in Thai)

10 Phutthiyawat, P. (2015). Stress of Operetors at The Social Assistance Centre 1300. (Master’s thesis). Thammasart University, Bangkok.

11 Polchai, N., Adulwattanasiri, M. (2014). The Effect of Individual Counseling on Cerebral Palsy Caregiver’s Anxiety. Journal of Education: Khon Kaen University, 8(2), 34-43. (in Thai)

12 Pongsopha, P. (2000). Educational psychology. Bangkok: Educational Development. (in Thai)

13 Manata, P. (2014). The relationship between parent’s anxiety and autism adolescents rearing behavior. Journal of Applied Arts, 1, 51-61. (in Thai)

14 Spielberger, C. D. (1983). Manual for the state- trait anxiety inventory (STAI) Y: self-evaluation questionnaire. Polo Alto, CA: Consulting Psychologists.

15 Srisa-ard, B. (2011). Fundamental Resaerch. Bangkok: Suveerisarn. (in Thai)