The Thai Condiment Entrepreneurs’ Competency to the Market Competition in the ASEAN Economic Community (AEC): Management Factors

Main Article Content

Tanyamai Chiarakul
Nattapol Panomlertmongkol
Suthinan Pomsuwan

Abstract

This research project focused on exploring: 1) related factors on “Management of Entrepreneurs,” regarding effects on competitive potential towards AEC, and 2) guidelines for development of entrepreneur’s competitive potential towards AEC. Research methodologies used were mainly in-depth interview with 11 condiment entrepreneurs. The result showed that the factors on management and administration of entrepreneurs are divided into four categories. Firstly, the primary target customers were individuals from all levels while secondary target customers consisted of hotels, restaurants and cooking schools. About core competencies, Thai condiment products should maintain traditional and original taste. Next, to maintain the competitive cost, the entrepreneur should focus on cost reduction on raw materials and implementation of taxes and transportations by building up relationships with suppliers / producers of raw materials. Regarding the competitive advantage, it had been analyzed in two aspects, entrepreneurs and governments. Entrepreneurs should encourage innovations, focusing on labor quality and production management in order to ensure product quality and acquire international certification in accordance with global standards. Moreover, they should acquire a clear understanding on trade rules and regulations as well as cultures and consumer behaviors in corresponding countries. Besides that, the entrepreneurs should create trademarks, promote their own brands and simultaneously enhance environmental-friendly goods with corporate social responsibility. For governments, the entrepreneurs expected that the government should provide assistance and supports in market price structure control, low cost material resources and information on various countries.

 

ศักยภาพของผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องปรุงรสไทยเพื่อเข้าสู่ตลาดการแข่งขันในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน: ปัจจัยด้านการบริหารจัดการ

รายงานวิจัยชิ้นนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มุ่งศึกษาให้ทราบ (1) ปัจจัยการบริหารจัดการของผู้ประกอบการที่ส่งผลต่อศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องปรุงรสไทย เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และ (2) แนวทางในการพัฒนาศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องปรุงรสไทย เพื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องปรุงรสไทย จำนวน 11 คน ผลการวิจัยพบปัจจัยด้านการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ 4 ด้าน ด้านแรกคือด้านกลุ่มลูกค้าเป้าหมายประกอบด้วยลูกค้าบุคคลทุกระดับ และกลุ่มลูกค้าเป้าหมายรอง คือ โรงแรม ร้านอาหาร โรงเรียนสอนทำอาหาร ด้านที่สองคือด้านความสามารถหลัก กล่าวคือ เครื่องปรุงรสไทยต้องรักษารสชาติและเอกลักษณ์ความเป็นไทยแบบดั้งเดิมไว้ ด้านที่สามคือด้านต้นทุนที่แข่งขันได้ โดยธุรกิจต้องลดต้นทุนวัตถุดิบ ภาษี และการขนส่ง โดยสร้างพันธมิตรกับผู้ผลิตวัตถุดิบ และด้านที่สี่คือด้านข้อได้เปรียบในการแข่งขัน ซึ่งแบ่งเป็นด้านผู้ประกอบการและด้านรัฐบาล ซึ่งด้านผู้ประกอบการต้องมีการคิดค้นนวัตกรรมสินค้าใหม่อยู่เสมอ เน้นการคัดเลือกแรงงานที่มีคุณภาพ มีการจัดการการผลิตและการรักษาคุณภาพสินค้าให้ได้ตามมาตรฐานสากลให้ได้รับเครื่องหมายรับรองคุณภาพที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป และต้องศึกษาทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อบังคับกฎหมาย และระเบียบการทำการค้าในแต่ละประเทศ รวมถึงเข้าใจวัฒนธรรมและพฤติกรรมการบริโภคของคนในแต่ละประเทศ มีการสร้างตราสินค้าและสื่อสารตราสินค้าให้เป็นที่รู้จักและมีความเข้มแข็ง ตลอดจนเน้นสินค้าที่ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนในด้านรัฐบาลนั้น ผู้ประกอบการต่างมีความคิดเห็นว่า รัฐบาลต้องให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนเรื่องโครงสร้างราคา แหล่งทุนต้นทุนต่ำ และความรู้เกี่ยวกับประเทศ

Article Details

Section
Research Articles