การฝึกทักษะทางสังคมของนักเรียนออทิสติกโดยใช้บัตรพลังร่วมกับสถานการณ์จำลอง

Main Article Content

วุฒิชัย ใจนะภา
กมล โพธิ์เย็น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางสังคมของนักเรียนออทิสติก ก่อนและหลังการฝึกโดยใช้บัตรพลัง (Power Card) ร่วมกับสถานการณ์จำลอง ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา เป็นนักเรียนออทิสติกอายุระหว่าง 12 - 16 ปี กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 ของโรงเรียนมหรรณพาราม ในโครงการเรียนร่วม จำนวน 3 คน กำหนดการทดลองตามแบบแผนการวิจัยกลุ่มตัวอย่างเดี่ยว (Single Subject Design) รูปแบบ A-B-A ดำเนินการทดลองเป็นระยะเวลา 4 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน วันละ 2 ครั้ง ครั้งละ 50 นาที รวม 24 ครั้ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บัตรพลัง (Power Card) ร่วมกับสถานการณ์จำลอง แผนการจัดกิจกรรม แบบบันทึกพฤติกรรมแบบช่วงเวลา และแบบประเมินทักษะทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean)

ผลการวิจัยพบว่า

ทักษะทางสังคมของนักเรียนออทิสติก หลังการสอนโดยใช้บัตรพลัง (Power Card) ร่วมกับสถานการณ์จำลองสูงขึ้น

 

Social Skills Practice Of Autistic Students Through Power Cards Accompanied With Simulation Situations

The purpose of this research was to compare social skills of autistic students before and after using power card accompanied with simulation situations. The participants of the study were 3 autistic students. The students, aged between 12-16 years old, were studying in Semester 2 of the academic year 2012 in the mainstreaming program of Mahannoparam School. The research method was Single Subject Design (A-B-A). The experiment lasted for 4 weeks (24 sessions, 2 sessions a day, 3 days a week). Instruments used in the research were Power Card, activity plans, interval recording and social skills evaluation forms. The data were analyzed using mean.(\bar{X})

Results of the research indicated that :

The autistic students’ social skills after using power cards accompanied with simulation situations were higher ( \bar{X} = 10.73) than that of before ( \bar{X} = 3.97)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)